การตรวจ Genetically Modified Organisms (GMOs)

เผยแพร่โดย ผู้ดูแลระบบ| 08 กรกฏาคม 2020

ในปัจจุบัน ความวิตกกังวลของผู้บริโภคเรื่องวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืชและสัตว์ที่ได้รับการตกแต่งยีน (GeneticallyModified Organisms, GMOs) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากถั่วเหลืองและข้าวโพดได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น การพัฒนายีนที่มีประโยชน์ทางการเกษตรเช่น ยีนต้านทานโรคและแมลง ยีนต้านทานวัชพืช ก่อให้เกิดกระแสการต่อต้านขึ้นโดยใช้ข้อกำหนดในด้านความปลอดภัยทาง ชีวภาพทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งนำไปสู่มาตรการในการส่งสินค้าทางการเกษตรสู่สหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่นในเดือนเมษายน คศ. 2000 โดยต้องมีการระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ GMOs หรือไม่

Example blog post alt.

มาตรฐานและข้อกำหนด
การตรวจ GMOs จะใช้มาตรฐานเดียวกับการตรวจสอบในกลุ่มประเทศยุโรป ให้ผลแบบมี หรือไม่มี GMOs ปลอมปน และสามารถตรวจสอบในลักษณะปริมาณได้ที่ Roundup Ready Soybean นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบป้องกัน carry-over effect ซึ่งเป็นสาเหตุของ fault positive

Example blog post alt.
The basis of GMOs detection

ยีนที่ได้รับการตกแต่งจะประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ 1.Transgene 2. Promoter 3. Terminator ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงชิ้นส่วนวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์แปรรูปว่ามีการปลอมปนของ GMOsหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญ ที่เรียกว่า Selectable และ Reporter genes เช่น NPTII, HPT และGUS เป็นต้น เพื่อให้ทราบเซลล์ที่ได้รับการถ่ายยีน

Example blog post alt.
Technique Real-Time PCR

ขั้นตอนในการตรวจสอบชิ้นส่วน วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืชที่ได้รับการตกแต่งยีน
1. การสกัดดีเอ็นเอจากชิ้นส่วน วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์แปรรูป จากพืชด้วยวิธีที่เหมาะสม
2. ตรวจสอบดีเอ็นเอตัวอย่างด้วยเทคนิค Real - Time PCR โดย
2.1 DNA Screening : Soybean - Lectin gene,
Corn - Zein gene, Plant - 18s rRNA gene
2.2 GMO Screening : 35S CaMV promoter,
NOS terminater
2.3 GMO Identification : RRS (Roundup Ready Soybean)